top of page

มาทำความรู้จักกับ อาชีพบาร์เทนเดอร์ Waiter กันเถอะ😀

แผนกนี้เป็นบริการมีโอกาสติดต่อกับแขกโดยตรง การบริการหรือวิธีเสิร์ฟมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ารสชาติหรือคุณภาพของ อาหารเลยทีเดียว และมีบางคนถึงกับคิดว่าค่าบริการนั้นสำคัญยิ่งกว่าตัวอาหารซะอีก อย่างไรก็ตามทั้งสองอย่างก็ต้องดีควบคู่กันไป คืออาหารต้องอร่อย และบริการต้องดีด้วย ห้องอาหารนั้นจึงจะเป็นที่พอใจของแขก พนักงานที่มีความสุภาพเป็นกันเอง และหน้าตาต้องยิ้มแย้มเสมอถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุดของอาหารเลยที เดียว



Waiter



พนักงาน Waiter ที่ดีจำเป็นต้องมีทักษะที่มีความชำนาญในงานที่ทำอยู่บ้าง เช่น การตักอาหารให้แขกโดยตักจากชามใหญ่และหนักโดยใช้ช้อนส้อม และการถือจาน 3-4 ใบที่มีอาหารอยู่ด้วยโดยไม่ให้อาหารหก เป็นต้น อีกทั้งพนักงานเสิร์ฟต้องมีทักษะในการติดต่อกับคน เพราะต้องพูดคุยกับแขกที่มาใช้บริการของห้องอาหาร กล่าวกันว่าพนักงานเสิร์ฟทั้งหลายเปรียบเหมือนเป็น “กองกำลังหรือหน่วยขายอาหาร” เลยทีเดียว เพราะมีเจ้าหน้าที่แนะนำหรือขายสินค้าที่เกี่ยวกับอาหารที่แผนกคัวทำขึ้นมา แก่ลูกค้า พนักงานเสิร์ฟจะชนะใจลูกค้าได้ด้วยการรู้จักกาลเทศะ มีเสน่ห์น่าพูดด้วย ทำงานได้คล่องแคล่ว และรอบรู้ในงานที่ต้องเองรับผิดชอบ เช่นสามารถแนะนำลูกค้าถึงการเลือกสั่งอาหารอะไร และอธิบายให้ลูกค้าฟังว่าอาหารเป็นอย่างไร และปรุงด้วยวิธีอย่างไร

การบริการที่ดียังรวมถึงการมีจังหวะที่เหมาะสมในการให้บริการ เช่น เมื่อแขกต้องการอะไรก็รีบสนองตอบอย่างรวดเร็วทันใจ เป็นต้น พนักงานเสิร์ฟควรจะล่วงรู้ว่าแขกกำลังต้องการอะไรก่อนที่แขกจะเอ่ยปากขอ นอกจากนี้พนักงานควรเตรียมงานล่วงหน้าไป 1 ขั้นเสมอ เช่นการรีบไปบอกแผนกครัวว่ามีแขกกลุ่มใหญ่เข้ามาแล้ว เพื่อให้พ่อครัวรู้ตัวและสามารถที่จะเตรียมการล่วงหน้าได้


ในกรณีของห้องอาหารเล็ก ๆ ที่มีพนักงานเสิร์ฟ 2-3 คน งานในความรับผิดชอบของพนักงานเสิร์ฟจะแบ่งขอบข่ายกว้าง ๆ ดังนี้

ตกแต่งหรือจัดแจงห้องอาหารให้ดูดี และสะดวกสบาย

  1. จัดวางโต๊ะเก้าอี้ และอุปกรณ์เครื่องใช้บนโต๊ะ

  2. รับจองโต๊ะจากลูกค้าที่โทรศัพท์เข้ามาจอง

  3. ต้อนรับลูกค้า

  4. รับออเดอร์ หรือคำสั่งเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มจากลูกค้า

  5. นำอาหารและเครื่องดื่มไปเสิร์ฟ

  6. เก็บโต๊ะเมื่อลูกค้ารับประทานอาหารเสร็จแล้ว

  7. กล่าวขอคุณเมื่อแขกจะกลับ หรือส่งแขก

  8. ทำความสะอาดห้องอาหาร


ในกรณีของห้องอาหารขนาดใหญ่ จะมีเจ้าหน้าที่จำนวนมาก ดังนั้นหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละคนจึงแบ่งกระจายกันออกไป ดังนี้

1. ผู้จัดการห้องอาหาร (Restaurant Manager) ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบห้องอาหารในทุกเรื่อง วาง/กำหนดมาตรฐานของการบริการ วางแผนตารางเวลาและการทำงานของพนักงานฝึกสอนงานแก่พนักงาน รับจองโต๊ะ ต้อนรับลูกค้า พาลูกค้าไปที่โต๊ะ และเมื่อถูกต่อว่าผู้จัดการต้องเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบ


2. หัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ (ชาย Head Waiter/หญิง Head Waitress หรือ Maltre d’Hotel หรือนิยมเรียกกันว่า Maltre D.) เป็นตำแหน่งรองผู้จัดการห้องอาหาร ถ้าเป็นห้องอาหารขนาดเล็กก็จะเป็นผู้ที่ดูแลห้องอาหารทั้งหมด ในกรณีที่เป็นห้องอาหารขนาดใหญ่ จะมีหัวหน้าหลายคน โดยคนหนึ่งจะดูแล 3-4 Station เป็นเขตบริการหรือเขตที่ต้องรับผิดชอบในห้องอาหารที่พนักงานแต่ละคนต้องรับ ผิดชอบและดูแลลูกค้าที่นั่งโต๊ะ ซึ่ง Station หนึ่งจะมีหลายโต๊ะ Head Waiter มีหน้าที่ที่ต้องควบคุมการทำงานของพนักงานเสิร์ฟในเขตความรับผิดชอบของตน เช่น ช่วยพาลูกค้าไปนั่งที่โต๊ะ และรับคำสั่งจากลูกค้าที่ต้องการสั่งอาหาร

  • พนักงานเสิร์ฟอาวุโสประจำเขต (Station Waiter/Station Waitress หรือ Chef de Rang) มีหน้าที่เสิร์ฟหรือให้บริการลูกค้าหลายโต๊ะใน Station หรือเขตของตน ส่วนมากจะมีลูกค้ารวมกันประมาน 20 คน เมื่อลูกค้าสั่งอาหารแล้วก็จะคอยปรับเปลี่ยนอุปกรณ์บนโต๊ะต่างๆ เช่น มีด ช้อนส้อม ให้เหมาะกับอาหารของลูกค้าที่สั่ง และเคลียร์ตะเมื่อลูกค้ารับประทานอาหารเสร็จแล้ว

  • ผู้ช่วยพนักงานเสิร์ฟ (Commis Waiter/Commis Waitress) มีหน้าที่ช่วยบริการด้านอาหาร จัดโต๊ะ เคลียร์โต๊ะ โดยทั่วไปผู้ช่วยพนักงานเสิร์ฟจะเป็นคนยกอาหารที่ทำเสร็จจากครัวมาที่ห้อง อาหาร และนำพวกอุปกรณ์ต่างๆ ที่ลูกค้าใช้แล้วกลับไปในครัวเพื่อให้แผนกสจ๊วตทำความสะอาด ในเมืองไทยนิยมเรียกหน้าที่นี้ว่า Bus Boy/Bus Girl มีหน้าที่ “เคลียโต๊ะ และวิ่งอาหาร”

  • พนักงานเสิร์ฟเหล้า (Wine Waiter/Wine Waitress หรือ Sommellier ซอมเมอลิเยร์) มีหน้าที่รับคำสั่งหรือออเดอร์ที่เกี่ยวกับเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ทั้งหมด ไม่เกี่ยวกับเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ

Comments


bottom of page